Blog และ ข่าวสาร

Blog บทความออนไลน์

ติวเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4-6 เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฝึกตะลุยโจทย์แนวข้อสอบกว่าพันข้อเพื่อฝึกฝีมือและทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และบทความ

สมัครเรียนออนไลน์ กับครูสอน Tuemaster

คลิกเลย

แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler diagram)



แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler diagram)

การเขียนแผนภาพเวนน์–ออยเลอร์
การเขียนแผนภาพเวนน์–ออยเลอร์มักเขียนแทนเอกภพสัมพัทธ์U ด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปปิดใดๆ ส่วนเซต A,B,C,D,… ซึ่งเป็นเซตย่อยของ Uอาจเขียนแทนด้วยวงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใดๆโดยให้ภาพที่แทนเซตย่อยอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่แทนเอกภพสัมพัทธ์
การพิจารณาเกี่ยวกับเซตจะง่ายขึ้น ถ้าเราใช้แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เข้ามาช่วย หลักการเขียนแผนภาพมีดังนี้
1. ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนเอกภพสัมพัทธ์
2. ใช้วงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใด ๆ แทนเซตต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ และเขียนภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เป็นแผนภาพที่นิยมใช้เขียนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเซต เพื่อให้ดูง่ายและชัดเจนมากขึ้น ปกติจะกำหนดเอกภพสัมพัทธ์ด้วยกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก ภายในนั้นมีเซตซึ่งอาจเขียนเป็นวงกลม วงรี หรือรูปปิดอื่นๆ
สมมติเรามีเซตต่างๆ ดังภาพต่อไปนี้
จากรูป (a): A = {1, 2} B = {3, 4, 5} จะเห็นได้ว่า A และ B ไม่มีสมาชิกร่วมกันเลย
ส่วนรูป (b): C = {a, b,c,d} D = {c,d, e, f, g} จะเห็นได้ว่าทั้งสองเซตนี้มีสมาชิกบางตัวร่วมกัน
สำหรับรูป (c): E = {1,2, 3} F = {1,2}
การดำเนินการของเซต (Operation of set)
เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) คือ เซตที่ใช้กำหนดขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึง โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่กล่าวถึงสิ่งอื่นใดซึ่งนอกเหนือจากสิ่งที่เซตนี้กำหนดไว้ เขีนแทนด้วย U ถ้ากล่าวถึงเซตของจำนวนโดยไม่กำหนดเอกภพสัมพัทธ์ ให้ถือว่าเอกภพสัมพัทธ์คือเซตของจำนวนจริง
การดำเนินการของเซต (Operation of set) เป็นการสร้างเซตใหม่ขึ้นจากเซตที่กำหนดให้ ได้แก่
1. ยูเนียน (Union)
A U B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A หรือเซต B หรือทั้งสองเซต
2.อินเตอร์เซกชัน (Intersection) A ∩ B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A และเซต B ที่ซ้ำกัน
3. ผลต่าง (Difference) A – B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A โดยที่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B
4. คอมพลีเมนต์ (Complement) A’ คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A
ยูเนียน (Union)
– ยูเนียน (Union) : ยูเนียนของเซต A และเซต B จะได้เซตใหม่ ซึ่งมีสมาชิกของเซต A หรือเซต B หรือทั้งสองเซต
“ ยูเนียนของเซตA และเซต B เขียนแทนด้วย A B ”
A B = {x| x A หรือ x เ ป็นสมาชิกของทั้งสองเซต}
เช่น A = {1,3,5} และ B = {3,6,9}
จะได้ A B ={1,3,5,6,9}
ดังนั้น ยูเนียน (Union) มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A U B = {1,2,3,4,5}
อินเตอร์เซกชัน
– อินเตอร์เซกชัน (Intersection): อินเตอร์เซกชันของเซต A และเซต B จะได้เซตใหม่ ซึ่งสมาชิกเป็นสมาชิกของเซตทั้งเซต A และเซต B “ อินเตอร์เซกชันของเซตA และเซต B เขียนแทนด้วย A B ”
A B = {x| x A และ x B}
เช่น A = {1,2,3,4,} , B = {2,4,6} และ C = {0,1}
จะได้ A B = {2,4}
A C = {1}
B C = {}
ดังนั้น อินเตอร์เซกชัน (Intersection) มีนิยามคือเซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A ∩ B = {3}
Set Operator ( การกระทำของเซต) การดำเนินการของเซต ( Operation With set ) เป็นการสร้างเซตขึ้นมาใหม่จากการนำเซตที่กำหนดให้ มาดำเนินการตามต้องการ ซึ่งจะมีการดำเนินการหลายแบบ เช่น ยูเนียนของเซต อินเตอร์เซกชันของเซต คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง
ยูเนียน ( Union ) มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ
เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A U B = {1,2,3,4,5}
อินเตอร์เซกชัน ( Intersection )
มีนิยามคือเซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
ตัวอย่าง เช่น A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A ∩ B = {3}
คอมพลีเมนต์ ( Complements )
มีนิยามคือ ถ้าเซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ แล้ว คอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’
ตัวอย่างเช่น U = {1,2,3,4,5}
A ={1,2,3}
∴ A’ = {4,5}
ผลต่าง ( Differnce )
บทนิยาม ถ้า A และ B ต่างก็เป็นสับเซตของเซต U ผลต่างของเซต A และ B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของ B เขียนแทนด้วย A – B
ตัวอย่าง กำหนดเซต A และ B จงหา A – B v กำหนด A = {3, 9}
B = {4, 6, 7}
A – B = {3, 9}