Blog และ ข่าวสาร

Blog บทความออนไลน์

ติวเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4-6 เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฝึกตะลุยโจทย์แนวข้อสอบกว่าพันข้อเพื่อฝึกฝีมือและทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และบทความ

สมัครเรียนออนไลน์ กับครูสอน Tuemaster

คลิกเลย

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ม.4



ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ม.4

ประพจน์

ประพจน์ (Propositions/Statement)

สิ่งแรกที่ต้องรู้จักในเรื่องตรรกศาสตร์คือ ประพจน์ ข้อความหรือประโยคที่มีค่าความจริง(T)

หรือเท็จ(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้อความรูป คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำปฏิเสธ ซึ่งไม่อยู่ใน

รูปของประโยคบอกเล่า จะเป็นข้อความที่ไม่เป็นประพจน์ สำหรับข้อความบอกเล่าแต่มีตัวแปรอยู่

ด้วย ไม่สามารถบอกว่าเป็นจริงหรือเท็จจะไม่เป็นประพจน์ เรียกว่าประโยคเปิด

ประโยคที่มีค่าความจริงไม่แน่นอน  หรือไม่อาจระบุได้ว่ามีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้

ไม่เป็นประพจน์

การเชื่อมประพจน์

การเชื่อมประพจน์

โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำประโยคมาเชื่อมกัน

มากกว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกัน ก็จะได้ประพจน์ใหม่ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็น

เท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากในตรรกศาสตร์คือ และ หรือ  ถ้า…แล้ว ก็ต่อเมื่อ  ไม่

1.ตัวเชื่อมประพจน์ “และ”

การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “และ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F)

2.ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ”


         การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

3.ตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว”


         การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)

4.ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ”


         การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน

5.นิเสธของประพจน์ “ไม่”


          นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p

การหาค่าความจริงของประพจน์

ตารางค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมีไว้เพื่อช่วยในการหาค่าว่าประพจน์ใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เมื่อทราบค่าความจริงของประพจน์ย่อย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

ตัวอย่างที่ 1 จงหาค่าความจริงของประโยค “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย”

 

วิธีทำ ให้ p แทน เชียงใหม่เคยเป็นเมืองหลวงของไทย
  ให้ q แทน ธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย
  ประโยคที่กำหนดให้อยู่ในรูป p Λ q
  เนื่องจาก p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง จะได้ p Λ q เป็นเท็จ
  ดังนั้น ประโยค “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย” มีค่าความจริงเป็นเท็จ

 

ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ a, b และ c เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง จริง และเท็จ ตามลำดับ จงหาค่าความจริงของประพจน์ (a Λ b)  c

 

วิธีทำ จาก a เป็นจริง และ b เป็นจริง จะได้ a Λ b เป็นจริง
  จาก a Λ b เป็นจริง และ c เป็นเท็จ
  จะได้ (a Λ b)  c เป็นจริง

ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าความจริงของประพจน์ ~(a → ~b) เมื่อ a, b เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง

 

วิธีทำ จาก b เป็นจริง จะได้ ~b เป็นเท็จ
  จาก a เป็นจริง และ ~b เป็นเท็จ จะได้ a → ~b เป็นเท็จ
  ดังนั้น ~(a → ~b) มีค่าความจริงเป็นจริง

ในการหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมอาจทำได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้แผนภาพดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

ตัวอย่างที่ 4 กำหนดให้ p, q, r และ s เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง เท็จ เท็จ และจริง ตามลำดับ จงหาค่าความจริงของประพจน์ [(p Λ q)  r] → (p  s)

 

ดังนั้น ประพจน์ [(p Λ q)  r] → (p  s) มีค่าความจริงเป็นจริง

หมายเหตุ การหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมตั้งแต่สองตัวขึ้นไป จะหาค่าความจริงของประพจน์ย่อยในวงเล็บก่อน แต่ถ้า
  ประพจน์นั้นไม่ได้ใส่วงเล็บให้หาค่าความจริงของตัวเชื่อม “~” ก่อนแล้วจึงหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “” , “Λ” จากนั้น
  จึงหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “→” และลำดับสุดท้ายเป็นการหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “↔”

ประพจน์ที่สมมูลกัน

ประพจน์ที่สมมูลกัน หมายถึง รูปแบบของประพจน์สองรูปแบบที่มีค่าความจริงตรงกัน  กรณีต่อกรณี และสามารถนำไปใช้แทนกันได้

ใช้สัญลักษณ์ดังข้อมูลด้านล่าง  เช่น

จากตาราง จะเห็นว่า p→q และ ∼q→∼p มีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี ดังนั้นเราจะได้ว่า p→q และ ∼q→∼p เป็นประพจน์ที่สมมูลกัน เขียนแทนด้วย p→q ≡ ∼q→∼p

หลังจากที่เรารู้แล้วว่าประพจน์ที่สมมูลกันคืออะไร ต่อไปเรามาดูตัวอย่างของประพจน์ที่สมมูลกันค่ะ (ควรจำให้ได้ แล้วจะเป็นประโยชน์มากๆ)

1.) p∧p≡ p

2.) p∨p≡p

3.) (p∨q)∨r ≡ p∨(q∨r) (เปลี่ยนกลุ่ม)

4.) (p∧q)∧r ≡ p∧(q∧r) (เปลี่ยนกลุ่ม)

5.) p∨q ≡ q∨p (สลับที่)

6.) p∧q ≡ p∧q (สลับที่)

7.) p∨(q∧r) ≡ (p∨q)∧(p∨r) (แจกแจง)

8.) p∧(q∨r) ≡ (p∧q)∨(p∧r) (แจกแจง)

9.) ∼(p∨q) ≡ ∼p∧∼q

10.) ∼(p∧q) ≡ ∼p∨∼q

11.) ∼p→q ≡ p∨∼q **

12.) p→q ≡ ∼p∨q **

13.) p→q ≡ ∼q→∼p

14.) p↔q ≡ (p→q)∧(p→q) ≡ (∼p∨q)∧(∼p∨q)